วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

10 กรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ก่อนเครื่องพัง ตอนที่ 2

กรณีที่ 6 จอเพี้ยน
เรื่องของ Refresh Rate เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นจอเพี้ยน จอดับหรืออาการ Out of range ได้บ่อยๆ เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นจอ CRT แล้วเกิดอาการผิดปกติของ Refresh Rate ตอนเปิดเครื่อง ก็อาจทำให้เกิดจอเพี้ยน เป็นคลื่นๆ มองภาพไม่รู้เรื่องได้เหมือนกัน
วิธีการแก้ไขเบื้องต้นที่ง่ายที่สุดก็คือ การสั่ง Restart เครื่องโดยอาจจะใช้คีย์บอร์ด Windows+U+R จากนั้นในขณะที่เครื่องกำลังบูตให้กดปุ่ม F8 เพื่อเข้าสู่ Boot Menu ที่จะมีออปชันให้คุณได้เลือกเข้า Safe Mode ซึ่งใน Safe Mode นี้จะมีการเรียกใช้ค่า Refresh Rate มาตรฐาน จึงทำให้ทำงานได้ตามปกติ
คราวนี้เมื่อเข้าสู่วินโดวส์ได้ คุณจะต้องไปปรับค่า Refresh Rate ให้เป็นค่าที่เหมาะสมที่จะสามารถใช้งานได้โดยคลิ้กขวาที่ Desktop จากนั้นเลือก Properties แล้วไปที่ Tab ชื่อ Setting คลิ้กปุ่ม Advance แล้วไปที่ Tab ชื่อ Monitor ซึ่งจะมีค่า Refresh Rate ให้ปรับ ซึ่งค่าที่เหมาะสมที่สุดจะเป็น adapter default หรือค่าต่ำสุดเท่าที่จะเลือกได้ และปรับความละเอียดของหน้าจอให้ต่ำๆ เข้าไว้ โดยเฉพาะจอขนาดเล็ก เมื่อปรับทุกอย่างเสร็จแล้วจึงสั่ง Restart เครื่องเพื่อดูผลในกรณีที่คุณแก้ไขจากอาการจอเพี้ยนข้างต้นมาแล้ว และต้องการปรับค่าความละเอียดหรือ Refresh Rate กันใหม่ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการ ให้ลองปรับค่าตามที่คู่มือจอระบุให้เป็นค่าที่แนะนำให้ปรับเสียก่อน อย่างเช่น จอ LCD 17 นิ้ว จะมีค่าความละเอียดอยู่ที่ 1280x1024 ส่วน Refresh Rate จะอยู่ที่ 60-75 Hz แล้วแต่รุ่นของจอ เมื่อกด Apply และเห็นหน้าจอที่ปรับใหม่ได้ตามปกติแสดงว่าใช้งานได้ แต่ถ้าหน้าจอกลับมืดไป หรือว่าเป็นคลื่นๆ ไป จนไม่สามารถมองอะไรเห็น ไม่ต้องตกใจครับ ให้รอประมาณ 15-20 วินาที ทุกอย่างจะกลับมาเป็นค่าเดิมก่อนที่เราจะกด Apply
กรณีที่ 7 คอมพ์จอฟ้า
ปัญหาที่คนใช้คอมพ์เจอกันบ่อยๆ นั่นก็คือปัญหาจอฟ้า (Blue Screen) ซึ่งพอเจอก็มักจะเกิดอาการอึ้ง ทึ่ง เสียว แล้วก็ออกอาการงงๆ ทำอะไรไม่ถูก แล้วเราจะทำอย่างไร เมื่อประสบพบเจอกับปัญหาจอฟ้า ถ้าอย่างนั้นเราไปดูทางออกฉุกเฉินของปัญหานี้กันครับ
เมื่อเจอปัญหาจอฟ้า สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือทำใจเย็นๆ อย่าเพิ่งตกอกตกใจอะไรไป จากนั้นให้สังเกตอาการที่เกิดขึ้น โดยคุณอาจจะจดโค้ดไว้เพื่อแก้ปัญหา เช่น 0x0000007E แล้วลองเอาโค้ดที่ได้ไปค้นหาในเว็บ เช่น Google แล้วคุณจะพบว่าโค้ดที่เกิดขึ้นมาสาเหตุจากอะไร ในส่วนนี้ต้องบอกว่า คุณอาจจะต้องเก่งภาษาอังกฤษผสมกับเทคนิคเล็กน้อย เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ
ปัญหาจอฟ้ามักจะเกิดได้จากสองสาเหตุ คือ โปรแกรม และไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมจะสังเกตได้ว่าจะสามารถปิดเครื่องได้ แต่อาการจอฟ้าจะเกิดเมื่อเปิดโปรแกรมที่มีปัญหา ถ้าคุณรู้ว่าเกิดจากโปรแกรมอะไร เมื่อ Uninstall โปรแกรมออกปัญหาก็จะหมดไป
ถ้าปัญหาเกิดจากไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ คุณอาจจะเปิดเครื่องได้ แต่เข้าวินโดวส์ไม่ได้ เครื่องอาจจะมีการรีบูตตลอดเวลา ซึ่งปัญหาตรงนี้ บางครั้งทางแก้อาจจะต้องฟอร์แมตเครื่องแล้วลงระบบใหม่ทั้งหมด ก่อนที่คุณจะทำอะไรลงไป ลองบูตเครื่องเข้า Safe mode ดูก่อน ถ้าเข้าได้ ก็จัดการเอาข้อมูลที่จำเป็นมาเก็บไว้ก่อนแต่ถ้าหากไม่ไหวจริงๆ คงต้องถอดเอาฮาร์ดดิสก์ไปจั๊มป์กับเครื่องอื่น แล้วเอาข้อมูลที่สำคัญออกมา จากนั้นค่อยฟอร์แมตแล้วเอาข้อมูลที่สำคัญออกมา จากนั้นค่อยฟอร์แมตแล้วลงเครื่องใหม่ครับ ซึ่งการลงระบบใหม่ ผมแนะนำให้ค่อยๆ ลงไดรเวอร์ทีละตัว ระบบใหม่ ผมแนะนำให้ค่อยๆ ลงไดรเวอร์ทีละตัว ลงหนึ่งตัวรีบูตหนึ่งครั้ง เพื่อเช็กดูว่าปัญหาเกิดที่ไดรเวอร์ตัวไหน เมื่อพบไดรเวอร์ที่มีปัญหา ให้เข้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นๆ แล้วดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่มาใช้แทนตัวที่มีปัญหา
กรณีที่ 8 กาแฟหกรดคีย์บอร์ด
เรามักได้รับคำเตือนอยู่เสมอๆ ว่าไม่ควรนำอาหารและเครื่องดื่มไปอยู่ใกล้คอมพิวเตอร์ ซึ่งสาเหตุของข้อห้ามนี้คงไม่เกี่ยวกับว่ากลัวคอมพิวเตอร์จะแย่งเรากินอย่างแน่นอน แต่เป็นเหตุผลง่ายๆ ว่ากลัวว่าเศษอาหารจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค กลิ่น รวมถึงอาจเป็นตัวดึงดูดให้พวกแมลงสาบ มด หรือหนูเข้าไปทำอันตรายให้กับคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
ส่วนพวกน้ำและกาแฟนั้น หากอยู่ใกล้คุณ (หรือเพื่อน) ก็อาจจะเผลอไปปัดให้หก ซึ่งเราก็ทราบดีอยู่แล้วว่าพวกอุปกรณ์ไอทีไม่ค่อยจะถูกชะตากับน้ำ หรือชากาแฟทั้งหลาย แต่ถ้าเมื่อพยายามป้องกันแล้วก็ยังพลาดท่าเสียที เผลอไปทำกาแฟหรือน้ำหกลงบนคีย์บอร์ดเข้าจนได้ ก็ควรทราบวิธีแก้ไขในเบื้องต้นสิ่งแรกที่ควรทำคือรีบถอดสายคีย์บอร์ดออกจากตัวเคสก่อน จากนั้นให้รีบเทน้ำหรือกาแฟออกโดยด่วน แล้วค่อยหาผ้าแห้งมาเช็ดทำความสะอาด หากไม่แน่ใจก็อาจใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดให้แห้งมาทำความสะอาด หรือถ้าสามารถหาไดร์เป่าผมมาเป่าได้ก็คงจะดี แต่ห้ามใช้ปากเป่านะครับ เพราะอาจเป็นการเพิ่มน้ำ (จากน้ำลาย) โดยใช่เหตุ แต่ถ้าไม่มีอะไรมาเป่าจริงๆ ก็ต้องทิ้งไว้ให้แห้งสักวันหรือสองวัน แล้วจึงนำไปเสียบกับคอมพิวเตอร์ดูว่ายังใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่? ถ้าไม่ได้ก็คงต้องเปลี่ยนคีย์บอร์ดอันใหม่แล้วละครับ คิดซะว่าได้ของใหม่ จะได้ไม่เครียดไงครับ
กรณีที่ 9 เสียงส่ออันตราย
คิดว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินเสียงร้องจากคอมพิวเตอร์หลังจากที่เปิดคอมพิวเตอร์ขึ้น จากนั้นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อพบว่า เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้เลย ซึ่งสัญญาณที่ดังขึ้นมานั้นจะแตกต่างกัน เพราะบางทีก็ดังครั้งเดียว หรือบางทีก็ดัง 2 ครั้ง ซึ่งในตอนนี้จะพูดถึงสัญญาณที่หลายคนมักจะเจอะเจอกันบ่อยๆ และสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ก็อย่าลืมว่าไบออสนั้นก็มีหลายยี่ห้อ จึงมีเสียงและความหมายที่แตกต่างกัน ก็อาจจะต้องพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ประกอบด้วย
เทคนิควิเคราะห์อาการเสียจากไบออส สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ไบออสยี่ห้อ นี้สัญญาณ เสียง Beep Code จะฟังค่อนข้างง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนไบออสยี่ห้ออื่น โดยเสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียง "ปี๊บ" สั้นและยาวสลับกันซึ่งเราจะสังเกตอาการเสียได้จากจำนวนครั้งในการส่งเสียงร้องเตือน โดยมีจังหวะดังนี้
  • เสียงดัง 1 ครั้ง = แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอน Post เป็นปกติ
  • เสียงดัง 2 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
  • เสียงดัง 3 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
  • เสียงดังต่อเนื่อง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแหล่งจ่ายไฟ เช่น เพาเวอร์ซัพพลาย หรือเมนบอร์ดอาจมีปัญหา ให้ตรวจสอบ เพาเวอร์ซัพพลาย และเมนบอร์ด
  • เสียงดังถี่ ๆ = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนเมนบอร์ดให้ตรวจสอบสายสัญญาณต่าง ๆ และตัวเมนบอร์ด
  • เสียงดัง 6 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของคีย์บอร์ด ให้ตรวจสอบคีย์บอร์ด
  • เสียงดัง 7 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
  • เสียงดัง 8 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
  • เสียงดังยาว 1 สั้น 2 = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
  • เสียงดัง 9 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
  • เสียงดัง 10 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
  • เสียงดัง 11 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของหน่วยความจำแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบนเมนบอร์ด
  • ไม่มีเสียง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ เพาเวอร์ซัพพลาย, เมนบอร์ด หรือซีพียู รวมถึงสายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ

**หมายเหตุ เสียง "ปิ๊ป" ของเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้ออาจแตกต่างจากได้ที่กล่าวมา

กรณีที่ 10 CDROM ติดไม่ทำงาน
มีใครเคยเจอปัญหาบ้างมั๊ยครับ? เวลาใส่แผ่นซีดีเข้าไปที่ไดรฟ์ซีดีรอม แล้วเครื่องอ่านอยู่นั่นแหละ อ่านไม่หยุด จนแฮงก์ หรือไม่สามารถนำแผ่นซีดีรอมออกได้
ชื่อว่าใครก็ตามที่ประสบกับปัญหานี้คงรู้สึกเซ็งแทบนั่งกุมขมับกันเลยทีเดียว เอาละครับ ผมมีแนวทางแก้ไขมาฝาก ดังนี้
สาเหตุ : ตัวการที่ทำให้ซีดีรอมติดค้าง ไม่สามารถเปิดได้นั้น จะอยู่ที่กลไกในการดีดถาดออกมา หรือความสกปรกของหัวอ่านซีดี และแผ่นเป็นรอยเป็นต้น
วิธีแก้ไข : การแก้ไขเบื้องต้นนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ออกแรงสักนิดหนึ่ง และต้องมีเครื่องมือ นั่นคือ คลิป หนีบกระดาษนั่นเอง วิธีการมีดังนี้
  • ให้นำคลิปหนีบกระดาษมาดัดให้มีลักษณะเป็นตัวแอล
  • จากนั้นนำคลิปหนีบกระดาษที่ดัดเรียบร้อยแล้วสอดเข้าไปในรูเล็กๆ ที่อยู่ทางด้านหน้าของซีดีรอม
  • ต่อไปก็ค่อยๆ เขี่ย จะรู้สึกได้ว่าปลายคลิปนั้นไปติดกับเฟืองสำหรับดีดถาดออกมา
  • ถ้าหากเขี่ยแล้ว ถาดไม่เลื่อนออกมา ให้ใช้มือค่อยช่วยงัดออกมา แต่ต้องระวังด้วยนะ ไม่งั้นจะเสียแบบถาวร

เอาละครับ ครบถ้วนทั้ง 10 กรณีกันไปเรียบร้อย ความจริงแล้วมันคงมีเหตุฉุกเฉินที่นอกเหนือจากนี้ไปบ้างแหละครับ แต่ที่นำมาเสนอในบทความนี้คือสาเหตุส่วนใหญ่ที่หลายคนมันจะพบอยู่บ่อยๆ ก็เอาเป็นว่ารู้วิธีแก้ไขเบื้องต้นกันก่อน ถ้าเหลือบ้ากว่าแรงจริงๆ เราก็คงจะต้องพึ่งผู้ชำนาญกว่า

ที่มา : http://www.arip.co.th/

10 กรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ก่อนเครื่องพัง ตอนที่ 1

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการทำงาน หรือเพื่อการเรียนแล้วละก็ เชื่อได้เลยว่าคงเคยเจอปัญหาประเภทที่ต้องรีบแก้ไขทันทีที่อยู่บ่อยๆ อย่างเช่น ไฟดับกะทันหัน ไฟกระชากในขณะที่กำลังทำงานหรือจู่ๆ เมาส์ก็ค้าง ทำอะไรต่อไปไม่ได้ ต้องบูตเท่านั้นหรือบางทีก็เจอกับหน้าจอฟ้า ที่มีข้อมูลอะไรเป็นภาษาอังกฤษขึ้นมาเต็มไปหมด เห็นแล้วก็เกิดอาการอึ้งๆ ๆ ไม่รู้จะทำอะไรต่อดี รวมถึงเสียงที่มันดังออกมาจากคอมพิวเตอร์ทั้งปิ๊บสั้นปิ๊บยาว ปิ๊บถี่ๆ โอ้ว...อะไรกันนักหนาละเนี่ย
เอาละนะ นับแต่นี้ต่อไป ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นก็จะหมดไป เพราะเราได้รวบรวม 10 กรณีฉุกเฉินที่ต้องรีบแก้ไขอย่างรีบด่วน มิฉะนั้นปัญหาอาจบานปลาย จนกลายเป็นความเสียหายของทั้งอุปกรณ์ หรือข้อมูลสำคัญ ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น เรามาลองไล่เรียงดูกันเลยนะครับ
กรณีที่ 1 ไฟดับกะทันหัน
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันบ่อยๆ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็คือไฟดับในขณะที่กำลังทำงานอยู่ โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มีอุปกรณ์สำรองไฟหรือ UPS ด้วยแล้ว เพียงแค่ไฟกระชาก ไฟตก บางทีก็อาจจะส่งผลให้เครื่องที่กำลังทำงานอยู่ดับไปเฉยๆ แล้วอย่างนี้จะทำยังไง เมื่อไฟดับ??
มาทำความเข้าใจกันก่อน อย่างแรกสุด ต้องเข้าใจว่าไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ดับ (โดยเฉพาะเวลาอากาศแปรปรวน) มักจะเกิดอาการไฟกระฉากหรือไฟตก ควรรีบเซฟงานและปิดเครื่องให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าคุณจะมีอุปกรณ์สำรองไฟใช้งานอยู่ด้วยก็ตาม แต่ถ้ามันสุดวิสัย ไม่ทันจริงๆ อยู่ดีๆ มันก็ดับขึ้นมาซะงั้น...นี่คือขึ้นตอนที่คุณควรจะทำ
ถ้าเกิดเหตุการณ์ไฟดับปุ๊บ ไม่ต้องอึ้งครับ หาปลั๊กของเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนเลยแล้วถอดออกเพื่อเป็นการป้องกันไฟกระชาก ซึ่งอาจจะส่งผลให้อุปกรณ์เสียหายได้ หรือถ้ามีสวิตช์ที่ปลั๊กก็ปิดสวิตซ์ไปเลยก็ดีครับ เรื่องงานที่ทำค้างไว้คงต้องทำใจไปก่อนรอดูสถานการณ์ว่าไฟฟ้าจะกลับมาติดเมื่อไหร่ เมื่อมาแล้วก็อย่าเพิ่งเปิดเครื่องทันที เพราะไฟฟ้าอาจจะยังไม่เสถียรดี รออีก 5-10 นาทีว่ามันกลับมาอย่างสมบูรณ์แล้วแน่นอนจึงค่อยเปิดเครื่อง
เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาแล้ว คราวนี้ละครับ คุณอาจจะได้เจอหน้าจอแปลกที่เป็นหน้าจอสีดำ ตัวอักษรสีขาวๆ มีให้เลือกออปชันต่างๆ ซึ่งถ้าเป็นวินโดวส์เอ็กซ์พีแล้วโชคดีไฟล์ระบบไม่เสียหาย คุณสามารถเลือก Start Windows Normally เพื่อบูตเข้าสู่วินโดวส์ตามปกติได้เลยครับ หรือถ้าเข้าไปไม่ได้ก็ให้ลองเลือกออปชั่น Last Know Good Configuration (your most recent setting that working) ดูครับ แต่ถ้าไม่ได้อีก อาจจะต้องมีการซ่อมแซมไฟล์ระบบกันเลย
ส่วนงานที่ทำค้างไว้นั้น จะทำอย่างไรกับมันดีครับ ซึ่งถ้าหากเป็นโปรแกรมในตระกูล Microsoft Office จะมีฟังก์ชันบันทึกข้อมูลอัตโนมัติเป็นระยะอยู่แล้ว ก็อาจจะโชคดีได้งานคืนกลับมาบางส่วน แต่ส่วนที่เหลือคงต้องทำใจละครับ ทางที่ดีควรเซฟงานเป็นระยะๆ ถึงจะดี และมีเครื่องสำรองไฟมาใช้งานด้วยก็จะดียิ่งขึ้น
กรณีที่ 2 เครื่องค้าง ปิดไม่ได้
มาถึงอาการเครื่องค้าง เครื่องแฮงก์ ที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มสุราหรือของมึนเมาของผู้ใช้นะครับ แต่อาจจะเป็นเพราะโปรแกรมมีการทำงานชนกัน หรืออุปกรณ์บางอย่างในเครื่องผิดปกติ อย่างเช่น แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีพียู เป็นต้น คราวนี้กดปุ่มอะไรก็ไม่มีปฏิกิริยาตอบสนอง จะสั่ง Shutdown ก็ทำไม่ได้ กดปุ่ม Power บนตัวเครื่องแล้วมันก็ไม่ปิดสักที อย่างนี้จะทำอย่างไร
เมื่อเครื่องมีอาการค้างหรือแฮงก์ในขณะที่ทำงานอยู่อาจจะเกิดจากปัญหาอะไรก็ตาม แต่ที่รู้ๆ คือกดปุ่มอะไรก็ไม่ตอบสนองสักกะที งานนี้มีทางเลือกอยู่หลายทาง แต่อย่างแรกคือต้องทำใจกับข้อมูลที่ทำค้างไว้พอๆ กับกรณีไฟดับนั่นแหละครับ ส่วนทางเลือกที่คุณสามารถทำได้คือกดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง ซึ่งมันจะทำให้ระบบเริ่มบูตเครื่องใหม่ คล้ายๆ กับการสั่ง Restart แต่ระบบจะไม่ได้มีการเก็บค่าต่างๆ ไว้ให้เรียบร้อย จึงทำให้เมื่อบูตกลับขึ้นมาก็จะเจอหน้าจอให้เราเลือกเหมือนตอนเปิดเครื่องหลังไฟดับ ก็ให้ทำตามขั้นตอนเดียวกับไฟดับได้เลยครับ
ใครที่คิดว่าปิดเครื่องไปเลยดีกว่า ก็สามารถกดปุ่ม Power เพื่อปิดได้เลย โดยกดปุ่ม Power เพื่อปิดนี้ ให้กดค้างไว้ประมาณ 4 วินาที หรือกดไปจนกว่าเครื่องจะดับ ซึ่งจะกินเวลาไม่เกิน 10 วินาทีหรอกครับ หรือว่าถ้ามันไม่ดับจริงๆ ก็คงต้องใช้ไม้แข็งถอดปลั๊กกันเลยก็ได้ แต่วิธีนี้ไม่ค่อยอยากแนะนำครับเอาเป็นตัวเลือกสุดท้ายจะดีกว่า ส่วนเครื่องใครที่สั่ง Shutdown แล้วไม่ยอมปิด แต่จะขึ้นหน้าจอ It’s now safe to turn off your computer ขึ้นมาแทนก็สามารถใช้วิธีการกดปุ่ม Power ค้างไว้จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุด
กรณีที่ 3 เครื่องติด จอไม่ติด
ถ้าวันดีคืนดี เปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้วเครื่องเปิดติด ไฟติด พัดลมหมุน แต่ดันไม่มีภาพขึ้นที่จอ คงเป็นฝันร้ายของใครหลายคนแน่ๆ ยิ่งถ้าต้องรีบใช้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยแล้ว จะตรวจสอบยังไง และจะแก้ไขอะไรได้บ้าง เราไปดูกันเลย
อย่างแรกให้เช็กจอกันก่อนว่าจอภาพเปิดสวิตซ์อยู่หรือเปล่า? ปลั๊กไฟเสียบถูกต้องหรือไม่? อันนี้ของมันแน่นอนอยู่แล้วไม่น่าจะมีใครลืมใช่ไหมครับ แต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้ามไปทั้งๆ ที่เป็นเรื่องพื้นฐานและเช็กกันงายนิดเดียวเอง
เอาละนะ เมื่อเช็กจอเรียบร้อยก็มาเช็กสายสัญญาณกันต่อ สายสัญญาณของจอมีการต่อกับคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องแล้วหรือเปล่า? สิ่งที่ต้องระวังอย่างหนึ่งก็คือในเครื่องที่มีกราฟิกการ์ดแบบออนบอร์ดมาให้ แล้วติดตั้งการ์ดจอเพิ่มเข้าไป จะมีช่องสำหรับต่อจอภาพอยู่ 2 ส่วนในกรณีต้องต่อช่องที่ออกมาจากการ์ดที่ใส่เพิ่มเข้าไปนะครับ ซึ่งส่วนมากจะอยู่เป็นพอร์ตที่อยู่ด้านล่าง
อีกกรณีหนึ่งคือกรณีที่เป็นการ์ดจอรุ่นใหม่ มักจะมีช่องต่อจอมาให้ 2 ช่อง 2 แบบ คือ D-Sub 15 pin กับช่องต่อแบบ DVI ที่ใช้ต่อกับจอแอลซีดีซึ่งมันจะมีการตรวจสอบจอที่ต่ออยู่กับพอร์ตเหล่านี้และส่งสัญญาณภาพออกไป ดังนั้น เป็นไปได้ว่าถ้าการ์ดจอรวน มันก็อาจส่งสัญญาณภาพไปผิดพอร์ต ก็ควรจะลองต่อดูทั้งสองช่องครับ
ถ้ายังไม่ได้อีกก็อาจจะต้องลองหาจอสำรองมาต่อแทน หรือเอาจอไปเช็กว่าจอภาพสามารถแสดงผลได้ตามปกติหรือไม่นะครับ แต่ถ้าเช็กจนแน่ใจแล้วคราวนี้คงต้องมาดูกันที่เครื่องคอมพิวเตอร์กันแล้วละครับ ว่ามีอาการผิดปกติอะไรหรือเปล่า? เช่น มีเสียงร้อง Beep..Beep เป็นจังหวะหรือไม่? หรือว่านิ่งเงียบไปเลย ซึ่งเสีย Beep เหล่านี้จะเป็นการฟ้องความผิดพลาดที่เกิดขึ้น อย่างเช่น การ์ดจอเสีย แรมมีปัญหา หรือถ้าเงียบไปเลยก็อาจจะเป็นซีพียูหรือเมนบอร์ดมีปัญหา งานนี้ส่งช่างจะเหมาะสมที่สุด
กรณีที่ 4 มีสัตว์ประหลาดแฝงกายอยู่ในเครื่อง
สังเกตมั๊ยครับว่า.. ภายในเคสของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มันช่างเป็นที่เหมาะเจาะที่บรรดาสารพัดสัตว์เข้าไปแวะเวียนพักพิงอาศัยกันอยู่บ่อยๆ ประหนึ่งว่าเป็นศาลาพักใจอะไรทำนองนั้น อ่ะ ผมไม่ได้หมายถึงก๊อดซิลล่านะครับ และก็ไม่ได้พูดเล่นด้วยเพราะผมกำลังหมายถึงบรรดา มด หนู แมลงสาบ แมงมุม จิ้งจก หรือแม้แต่งู ฮั่นแน่! ไม่เชื่อละซิครับว่าจะมีจริงๆ
มีผู้ใช้บางคนหวังดีกับเครื่อง คือ ไม่อยากให้เครื่องคอมพ์ร้อน ก็เลยเปิดผ่าด้านข้างของเคสไว้อย่างนั้นแหละ ซึ่งแบบนี้ละครับที่สรรพสัตว์ทั้งหลายมักจะถือโอกาสแวะมาทักทายอยู่เรื่อยๆ และถ้ามันชอบอกชอบในก็อาจจะถึงขั้นย้ายครอบครัวหรือชวนเพื่อนๆ มาตั้งวงสนทนากันอยู่เรื่อยๆ และนั่นก็คือที่มาของโรคฉี่หนู เอ๊ย! ไม่ใช่ๆ
การที่หนูหรือบรรดาสัตว์ที่ไม่น่าพึงประสงค์ทั้งหลายมารวมตัวกันเช่นนี้ มันอาจกัดหรือทำลายสายไฟหรืออุปกรณ์ในนั้นได้ ดังนั้น ถ้าวันดีคืนดีก็มีเสียงที่ส่ออาการว่าจะมีอะไรเข้าไปอาศัยอยู่ภายในเคส ก็ควรรีบปิดเครื่อง และปิดฝาเคสออกมาตรวจสอบโดยด่วน
เมื่อเปิดฝาเคสออกมาแล้ว ก็หาตัวการให้เจอก่อน ตามซอกตามมุมต่างๆ ถ้าเป็นมด ก็มองตามขบวนมันไปครับว่าเดินออกมาจากตรงไหน ก็เข้าไปทำความสะอาด ปัดรังมันออกมาซะ งานนี้ไม่ต้องปรานี ถ้าเป็นพวกใยแมงมุมก็เอาแปรงไปปัดๆ ออกมา ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเจอตัวเป็นๆ หรอกครับ อ้อ! ระวังพวกสัตว์มีพิษด้วยนะครับ เดี๋ยวมันจะกัดเอา
หลังจากจัดการทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วให้เช็กสายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ดูว่า มันอยู่ดีมีสุขกันหรือไม่? สายไฟแน่นหนาครบทุกสายหรือถูกหนูมันแทะเล็มไปแล้ว ตรวจดูความชื้นด้วยนะครับ เผื่อมันฝากฉี่หรือน้ำลายเอาไว้ อาจทำให้เครื่องช็อตได้ จากนั้นก็ลองเปิดเครื่องดู ถ้าหากเครื่องยังใช้ได้ตามปกติแล้วก็ควรจะหาเคสมาปิดฝาให้เรียบร้อย เพราะคุณอาจจะไม่ได้โชคดีเหมือนครั้งนี้เสมอไป
กรณีที่ 5 USB ไดรฟ์ไม่โชว์ (USB not recognized)
เคยไหมครับ? ที่เวลาเอา Flash Drive ที่เราใช้งานอยู่เป็นประจำ หรืออันที่เพิ่งซื้อมาใหม่มาใช้งาน แล้วพอเสียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปุ๊บ ก็มีป็อปอัพเด้งขึ้นมาตามปกติ เพียงแต่ข้อความแทนที่จะเป็นการแจ้งว่าอุปกรณ์ของคุณพร้อมใช้งาน กลับกลายเป็น USB not recognized ซึ่งหมายถึงวินโดวส์ไม่รู้จักอุปกรณ์ขึ้นมาซะดื้อๆ อย่างนั้น ทั้งๆ ที่ เป็นแค่ Flash Drive ที่สามารถใช้งานทันทีในมาตรฐาน USB Mass Storage อยู่แล้ว
ปัญหานี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุครับ ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่เกิดจริงๆ ไม่ได้อยู่ที่วินโดวส์ไม่มีไดรเวอร์อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจกันหรอกนะครับ แต่เกิดจากการทำงานผิดปกติของตัวพอร์ต USB ขาดในกรณีที่ใช้ช่องเสียบด้านหน้าที่ต้องมีสายต่อไปยังเมนบอร์ดอีกทอดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นไฟฟ้าที่จ่ายไปให้อุปกรณ์อย่างพวก Flash Drive จาก พอร์ต USB ไม่เพียงพอ อุปกรณ์เลยไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง วินโดวส์ก็เลยไม่สามารถตั้งค่าไดร์เวอร์ให้ได้อย่างถูกต้องนั่นเอง
วิธีการแก้ไขที่ง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณใช้ USB Hub ที่เสียบอุปกรณ์ต่อพ่วงไว้ด้วยกันเยอะๆ ให้ถอดอุปกรณ์บางตัวที่ไม่ได้ใช้ออก หรือเปลี่ยนจากการเสียบที่ USB Hub ไปเสียบที่พอร์ตที่ตัวเครื่องโดยตรงจะดีที่สุด เพราะมันจะได้รับไฟอย่างเต็มที่และทำงานได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าเสียบโดยตรงแล้วก็ยัง USB not recognized อยู่ละก็ งานนี้คงต้องลองเปลี่ยนพอร์ตไปเรื่อยๆ ถ้าเคยเสียบด้านหน้าแล้วไม่สามารถทำงานได้ ก็ลองย้ายไปเสียบด้านหลังดู เปลี่ยนพอร์ตไปเรื่อยๆ ต้องมีสักพอร์ตที่ทำงานได้
ไม้ตายสุดท้าย ถ้ายังไม่สามารถหาพอร์ตที่ใช้งานได้อีกละก็ แสดงว่าพอร์ต USB บนเมนบอร์ดของคุณอาจจะมีปัญหา หรือไม่ก็อุปกรณ์อย่าง Flash Drive หรืออาจจะเป็น External Harddisk ของคุณกินไฟมากผิดปกติ งานนี้คุณจะต้องหาอุปกรณ์มาช่วยครับ นั่นคือ USB Hub แบบที่มี adapter สำหรับให้ต่อเพื่อจ่ายไฟเพิ่มได้ด้วย วิธีการนี้จะทำให้อุปกรณ์ของคุณมีไฟเลี้ยงเพียงพอที่จะทำงานได้อย่างถูกต้องบ แต่ถ้ายังไม่ได้อีก อาจจะเป็นที่ตัวอุปกรณ์เสียมากกว่า

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ป้องกันไวรัสโจมตี MSN

Windows Live Messenger ซึ่งหลายคนเรียก MSN Live Messenger โปรแกรมสื่อสารทันใจ (Instant Messengers) ที่ได้รับความนิยมมากทีสุดบนระบบปฏิบัติการ Windows และนั่นก็เป็นสาเหตุสำคัญด้วยที่ทำให้มันตกเป็นเป้าหมายของเหล่ามัลแวร์ต่างๆ รวมถึงสแปม สำหรับวิธีป้องกัน แนะนำให้ลองติดตั้ง WLM Safe ที่ได้รับการพัฒนาออกมาเพื่อใช้ป้องกัน Windows Live Messenger จากเหล่าร้ายภัยคุกคามต่างๆ โดยเฉพาะ น่าจะช่วยให้ชีวิตออนไลน์ของคุณปกติสุขขึ้นนะครับ

สำหรับการติดตั้ง WLM Safe ผู้ใช้จะต้องติดตั้งส่วนเพิ่มเติมของโปรแกรมยอดฮิตอย่าง Messenger plus for Windows Live Messenger เสียก่อน WLM Safe จะมาพร้อมกับโมดูลที่ป้องกันมัลแวร์ต่างๆ มากมาย เช่น

  • แอนตี้ไวรัส (Anti-Virus) : ตรวจจับ และป้องกันลิงค์ที่ส่งเข้ามาในหน้าต่างสนทนาโดยไวรัส
  • แอนตี้ฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) : ตรวจจับ และกันลิงค์ฟิชชิ่งที่ส่งเข้ามาโดยไวรัส
  • แอนตี้สแปม (Anti-Spam) : ป้องกันสแปมเมสเสจที่ส่งเข้ามาโดยคอนแท็คส์ของคุณ
  • แอนตี้ฟลัด (Anti-Flood) : ตรวจจับการโจมตีแบบตะลุมบอนข้อความเข้ามา
  • แอนตี้ฟรีซ (Anti-Freeze) : กันข้อความต่างๆ ที่ทำให้ Messenger เวอร์ชันเก่าๆ ล่มได้
  • แอนตี้ก็อปปี้ (Anti-Copy) : แจ้งเตือนหากพบหนึ่งในผู้ติดต่อแอบก็อปปี้ Nickname ของคุณไปใช้
  • แอนตี้บ็อต (Anti-Bot) แจ้งเตือนเมื่อคุณกำลังแชตกับบ็อต ไม่ใช่ผู้ใช้ตัวจริง
  • แอนตี้แฮคเกอร์ (Anti-Hackers) : แจ้งเตือนเมื่อคุณกำลังแชตอยู่กับผู้ติดต่อที่ไม่ปลอดภัย

โปรแกรมรักษาความปลอดภัยสำหรับ MSN Live Messenger มาพร้อมกับฟังก์ชันอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้อีกด้วย เช่น ลดการใช้หน่วยความจำของโปรแกรม ลบข้อมูลตกค้างในแคช หรือตรวจดูโพรเซสทั้งหมดของระบบปฏิบัติการ ตัวเลือกการทำงานอื่นๆ ก็จะมีการล็อค MSN Messenger จากการถูกแอบใช้โดยผู้ใช้คนอืนๆ และป้องกันการถอดถอนสคริปท์ใน IM อีกด้วย

ตัวโปรแกรมสามารถโหลดได้ที่
http://www.wlmsafe.com/

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์ สำหรับ Windows XP

1. ดับเบิ้ลคลิกที่ My Computer คลิกขวาไดร์ฟที่ต้องการทำ Scan Disk เลือก Properties

2. คลิกที่แท็บ Tools จากนั้นคลิกที่ Check Now

3. คลิกเครื่องหมายถูกที่ Scan for and attempt recovery of bad sectors แล้วคลิก Start

4. รอสักครู่เครื่องจะทำการ Scan Disk

5. เครื่องทำการ Scan Disk เสร็จก็จะรายงานได้ทราบ ให้คลิก OK

หมายเหตุ
• ขณะที่ทำการ Scan Disk ไม่ควรเปิดโปรแกรมใด ๆ
• Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น

ที่มา : http://www.bcoms.net/article/scandisks_xp.asp

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

มาทำไอคอนให้ USB Flash Drive กันเถอะ

  1. สิ่งที่ต้องมี Icon สวยๆ
  2. โปรแกรม notepad ซึ่งมากับวินโดว์อยู่แล้ว
  3. FlashDrive ซึ่งถ้าไม่มีไม่มีแล้วจะทำใน FlashDrive ได้ยังไง

วิธีทำนะครับ

  1. ก่อนอื่นเปิดโปรแกรม Notepad ก่อนนะครับ โดยไปตามภาพนะครับ
  2. พิมพ์ข้อความหรือcopyข้อความนี้นะครับ (บริเวณ ****** ให้ใส่ชื่อของไอคอน เช่น SETUP.ico)
    [AutoRun]
    ICON=*****.ico

  3. จากนั้น SaveAs ครับ ตั้งเป็นชื่อ autorun.inf จะต้องเป็นชื่อนี้เท่านั้นนะครับ
  4. copy ไฟล์ SETUP.ico และ autorun.inf ไปไว้ใน FlashDrive นะครับ
  5. ลองดึง FlashDrive ออกแล้วลองเสียบใหม่

เรามาดูความหมายของมันกันนะครับ เผื่อบางคนอยากรู้
[AutoRun] ในบันทัดแรก หมายถึง autorun นะละครับไม่รู้จะอธิบายทำไม
ICON=SETUP.ico ในบันทัดนี้นะครับ Icon= ชื่อไฟล์.ico นะครับ ต้องเป็นไฟล์นามสกุล ico เท่านั้นนะครับเช่นชื่อ SETUP.ico นะครับ

Icon สวยๆ หาได้ที่นี่นะครับ
http://www.vistaicons.com/icon_collections.htm

วันอังคารที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การทำความสะอาดและจัดระเบียบไฟล์

ในช่วงที่ได้เครื่องคอมพิวเตอร์มาใหม่ๆ และยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมใช้งานมากนัก คุณจะพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วทันใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปความเร็วในการทำงานนั้นก็ลดลง และคุณต้องใช้เวลาในการรอคอยมากขึ้น นับตั้งแต่การเริ่มต้นเปิดเครื่องเลยทีเดียว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร โปรดติดตามอ่านต่อไปครับ

ในการใช้งานโดยทั่วไปนั้น ผู้ใช้มักจะทำการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นโปรแกรม word processor โปรแกรมเกี่ยวกับการจัดการรูปภาพ ซึ่งบางโปรแกรมอาจจะมีขนาดใหญ่มาก จึงต้องการพื้นที่ในการติดตั้งมาก และเมื่อใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ ก็จะต้องมีการบันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ ทำให้เมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ พื้นที่ว่างของฮาร์ดดิสก์ก็จะลดลง

นอกจากผู้ใช้จะมีการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ และใช้เพื่อบันทึกข้อมูลของตนเองแล้ว โปรแกรมประยุกต์ต่างๆ รวมทั้งตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์เองก็ต้องการพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ในการทำงานเช่นกัน โดยจะเป็นลักษณะของการสร้างไฟล์ชั่วคราว (temporary file) ขึ้นมาเพื่อเก็บข้อมูล และเมื่อใช้งานโปรแกรมเสร็จแล้วไฟล์ชั่วคราวต่างๆ เหล่านี้ก็จะถูกลบทันที อย่างไรก็ตามบางครั้งไฟล์เหล่านี้อาจจะไม่ได้ถูกลบโดยโปรแกรมที่สร้างมันขึ้นมา และอาจจะกลายเป็นไฟล์ขยะที่ทำให้เปลืองพื้นที่ฮาร์ดดิสก์โดยไม่จำเป็น

สาเหตุที่จะต้องสร้างไฟล์ชั่วคราวขึ้นมานั้น มักจะเกิดจากการที่โปรแกรมต้องการที่จะดำเนินการกับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ จนไม่สามารถที่จะบันทึกลงหน่วยความจำ (RAM) ได้ จึงต้องอาศัยฮาร์ดดิส์เป็นหน่วยความจำอีกแหล่ง
นอกจากนี้ก็ยังมีไฟล์ชั่วคราวบางประเภทที่จะถูกจัดเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ถึงแม้คุณจะทำการปิดโปรแกรมนั้นไปแล้วก็ตาม ตัวอย่างที่ใกล้ตัวผู้ใช้ที่สุดก็คงจะเป็นโปรแกรมบราวเซอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Internet Explorer หรือ Firefox

  1. คลิก Start และ My Computer
  2. คลิกขวาที่ฮาร์ดดิสก์ที่คุณต้องการ และเลือก Properties
  3. ที่ General tab ให้คุณคลิกที่ Disk Cleanup โดยโปรแกรมจะใช้ระยะเวลาตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ของคุณสักครู่หนึ่ง
  4. คุณสามารถที่จะเลือกว่าจะทำการลบไฟล์ชั่วคราวใดบ้าง หลังจากนั้นให้คลิกที่ปุ่ม OK

จากรูปจะเห็นว่าผมสามารถที่จะได้พื้นที่ว่างกลับมาใช้งานประมาณ 20 GB คุณสามารถใช้ขั้นตอนเช่นเดียวกันนี้ในการทำความสะอาดฮาร์ดดิส์ก้อนอื่นๆ ได้

หลังจากทำการลบไฟล์ชั่วคราวแล้ว มีอีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรจะต้องทำก็คือ การ Defragment ผมขออธิบายลักษณะของการเกิด fragment ในฮาร์ดดิสก์ เทียบกับการอ่านข่าวในหนังสือพิมพ์ ขอให้ลองนึกภาพว่าคุณกำลังอ่านข่าวพาดหัวในหน้าแรก ซึ่งบอกให้คุณไปอ่านรายละเอียดต่อในหน้าที่ 15 และหากเนื้อข่าวยาวมากอาจจะต้องข้ามไปอ่านต่อในหน้าที่ 16 และหน้าอื่นๆ ตามลำดับการที่เนื้อข่าวของหนังสือพิมพ์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ กระจายไปอยู่ตามหน้าต่างๆ ก็คือลักษณะของการเกิด fragment ซึ่งคุณจะต้องเสียเวลาในการเปิดหาหนังสือพิมพ์หน้าที่ต้องการ รวมทั้งต้องใช้เวลาในการกวาดสายตาหาตำแหน่งของข่าวในหน้านั้นๆ ด้วย ลักษณะเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับไฟล์ต่างๆ ที่จะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ และกระจัดกระจายอยู่ในฮาร์ดดิสก์ ทำให้ในการเรียกใช้ไฟล์แต่ละครั้งจะต้องใช้เวลามากขึ้นกว่าที่จะอ่านไฟล์ได้ทั้งหมด ดังนั้นหากเราทำให้ไฟล์เหล่านี้มีความต่อเนื่องกัน โปรแกรมต่างๆ ก็จะสามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้น

เพื่อแก้ปัญหานี้ วินโดวส์ได้เตรียมโปรแกรมไว้ให้คุณแล้วเช่นกันครับ แล้ว คุณสามารถเปิดโปรแกรมนี้ได้โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. คลิกที่ Start และ My Computer
  2. คลิกขวาที่ฮาร์ดดิสก์ที่คุณต้องการ และเลือก Properties
  3. ที่ Tools tab ให้คุณคลิกที่ Defragment Now
  4. คลิกที่ Analyze เพื่อให้โปรแกรมตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ของคุณ โดยจะใช้ระยะเวลาสักครู่หนึ่ง
  5. ผลการวิเคราะห์จะแสดงให้คุณเห็นไฟล์ที่ fragment เป็นสีแดง ซึ่งคุณสามารถคลิกที่ปุ่ม Defragment เพื่อให้โปรแกรมทำงานได้ทันที

วิธีการจัดการกับไฟล์ดังกล่าวข้างต้น จะสามารถช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรจะทำการตรวจสอบด้วยว่ามีโปรแกรมใดบ้างที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้งานมันอีกแล้ว หากพบก็ควรจะทำการยกเลิกการติดตั้ง เพื่อให้มีเนื้อที่ว่างในการใช้งานอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วยครับ

ที่มา : http://www.phpconcept.com/node/10

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด

การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเมนบอร์ด
อาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ดนั้นเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ไขยาก และเกิดจากหลายสาเหตุ เนื่องจากมีอุปกรณ์หลายตัวเข้ามาติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด ทำให้เมื่อเมนบอร์ดมีปัญหามักหาสาเหตุไม่ค่อยเจอ ส่วนใหญ่จะมองไปที่อุปกรณ์ตัวอื่นมากกว่า เพราะจะว่าไปแล้วโอกาสที่อาการเสียจะเกิดจากเมนบอร์ดนั้น มีค่อนข้างน้อยทำให้อาจนึกไม่ถึง สำหรับอาการเสียของเมนบอร์ดจะคล้ายกับอาการเสียของอุปกรณ์ตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด เช่นเครื่องบูตไม่ขึ้น , จอภาพมืด ส่วนใหญ่จะคิดว่าสาเหตุน่าจะเกิดมาจากจอภาพและฮาร์ดดิสก์มากกว่า หรืออาการเครื่องแฮงค์บ่อย หลายคนมักวิเคราะห์ว่าน่าจะเกิดจากแรม หรือไม่ก็ ซีพียู แต่แท้จริงแล้ว หากเมนบอร์ดเสีย เครื่องก็ไม่สามารถบูตได้ หรือเกิดอาการแฮงค์บ่อยได้เหมือนกัน
แนวทางในการวิเคราะห์ปัญหาเกิดจากเมนบอร์ดมีดังนี้
  1. ตรวจสอบการเชื่อมต่อของขั้วต่อต่าง ๆ บนเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แน่นและถูกต้อง เช่นขั้วต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์ , ขั้วต่อสายไฟจากเพาเวอร์ซัพพลายกับกับเมนบอร์ด เป็นต้น
  2. ตรวจสอบการติดตั้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง เช่น แรม หรือการ์ดต่าง ๆ บนเมนบอร์ดให้แน่น
  3. ตรวจสอบการระบายความร้อนบนอุปกรณ์เมนบอร์ดเช่น พัดลมชิพเซ็ท พัดลมพาวเวอร์ซัพพลาย หรือพัดลมเสริมตัวอื่น ๆ ว่ายังทำงานอยู่ดีหรือไม่
  4. ตรวจสอบการเซ็ตจัมเปอร์และดิปสวิตซ์บนเมนบอร์ดว่ากำหนดค่าต่าง ๆ ถูกต้องหรือ ส่วนมากมักจะเป็นเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ
  5. ตรวจสอบการกำหนดค่าในไบออสว่ามีการกำหนดค่าถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่
  6. ตรวจสอบถ่านแบตเตอรี่บนเมนบอร์ดว่าหมดแล้วหรือยังถ้าหมดให้เปลี่ยนถ่านใหม่
  7. หากเมนบอร์ดถามหาพาสเวิร์ดแล้วจำไม่ได้ให้ทำการเคลียร์ไบออสโดยถอดจัมเปอร์ไปเสียบที่ขา Clear Bios (ดูคู่มือเมนบอร์ดประกอบ) หรือจะถอดถ่านแบตเตอรี่ออกมาทิ้งไว้สักพักแล้วใส่เข่าไปใหม่ก็ได้
  8. ตรวจวสอบอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่นำมาติดตั้งว่าเข้ากันได้กับเมนบอร์ดหรือไม่ บางครั้งหากผู้ใช้ซื้ออุปกรณ์รุ่นใหม่ ๆ มาเมนบอร์ดตัวเดิมจะไม่สามารถรองรับได้ ให้ทำการอัพเดทไบออสเพื่อให้เมนบอร์ดมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถรู้จักกับอุปกรณ์ ใหม่ ๆ ได้

หากได้ทำการตรวจสอบขั้นตอนเหล่านี้แล้วยังไม่พบปัญหาก็อาจเป็นไปได้ว่า เมนบอร์ดเสีย ให้เช็คดูว่ามีกระแสไฟลัดวงจร หรือเมนบอร์ดช๊อตหรือไม่ โดยตรวจสอบแท่นรองน็อตหรือมีวัตถุแปลกปลอมอย่างอื่นที่สามารถนำไฟฟ้าได้แอบแฝงอยู่บนเมนบอร์ดหรือไม่ ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือ เมื่อผู้ใช้ได้ติดตั้งเมนบอร์ดแล้ว ลืมน๊อตตกค้างอยู่บนเมนบอร์ดเมื่อมีกระแสไฟจ่ายเข้ามาก็อาจทำให้เมนบอร์ดพังได้ เพราะน๊อตตัวเล็ก ๆ จะเป็นตัวนำกระแสไฟได้เป็นอย่างดี

สรุป การที่จะรู้ว่าเมนบอร์ดของคุณเสียเปล่าต้องมีการทดสอบคือนำเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดสอบครับ ถ้าไม่มีคงจะต้องถึงมือช่างแล้วละครับ

จากหนังสือ เริ่มต้นเป็นช่างคอมพิวเตอร์ มืออาชีพ

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เรื่องเกี่ยวกับ แรม (RAM)

RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น
SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน
SD-RAM
DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ ทางบริษัท nVidia ได้ผลิต GeForce ใช้คู่กับหน่วยความจำแบบ SDRAM แต่เกิดปัญหาคอขวดของหน่วยความจำในการส่งถ่ายข้อมูลทำให้ทาง nVidia หาเทคโนโลยีของหน่วยความจำใหม่มาทดแทนหน่วยความจำแบบ SDRAM โดยเปลี่ยนเป็นหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM การเปิดตัวของ GeForce ทำให้ได้พบกับ GPU ตัวแรกแล้ว และทำให้ได้รู้จักกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM เป็นครั้งแรกด้วย การที่ DDR-SDRAM สามารถเข้ามาแก้ปัญหาคอคอดของหน่วยความจำบนการ์ดแสดงผลได้ ส่งผลให้ DDR-SDRAM กลายมาเป็นมาตรฐานของหน่วยความจำที่ใช้กันบนการ์ด 3 มิติ ใช้ Module DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี datapath ถึง 64 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน
DDR-RAM

Rambus นั้นทางอินเทลเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนหลักมาตั้งแต่แรกแล้ว Rambus ยังมีพันธมิตรอีกเช่น คอมแพค, เอชพี, เนชันแนล เซมิคอนดักเตอร์, เอเซอร์ แลบอเรทอรีส์ ปัจจุบัน Rambus ถูกเรียกว่า RDRAM หรือ Rambus DRAM ซึ่งออกมาทั้งหมด 3 รุ่นคือ Base RDRAM, Concurrent RDRAM และ Direct RDRAM RDRAM แตกต่างไปจาก SDRAM เรื่องการออกแบบอินเทอร์-เฟซของหน่วยความจำ Rambus ใช้วิธีการจัด address การจัดเก็บและรับข้อมูลในแบบเดิม ในส่วนการปรับปรุงโอนย้ายถ่ายข้อมูล ระหว่าง RDRAM ไปยังชิปเซตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนถ่ายข้อมูลของ RDRAM นั้นก็คือ จะใช้อินเทอร์เฟซเล็ก ๆ ที่เรียกว่า Rambus Interface ซึ่งจะมีอยู่ที่ปลายทางทั้ง 2 ด้าน คือทั้งในตัวชิป RDRAM เอง และในตัวควบคุมหน่วยความจำ (Memory controller อยู่ในชิปเซต) เป็นตัวช่วยเพิ่มแบนด์วิดธ์ให้ โดย Rambus Interface นี้จะทำให้ RDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้สูงถึง 400 MHz DDR หรือ 800 เมกะเฮิรตซ์ เลยทีเดียว แต่การที่มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลสูง ก็เป็นผลร้ายเหมือนกัน เพราะทำให้มีความจำเป็นต้องมี Data path หรือทางผ่านข้อมูลมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับปริมาณการขนถ่ายข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ขนาดของ die บนตัวหน่วยความจำต้องกว้างขึ้น และก็ทำให้ต้นทุนของหน่วยความจำแบบ Rambus นี้ สูงขึ้นและแม้ว่า RDRAM จะมีการทำงานที่ 800 เมกะเฮิรตซ์ แต่เนื่องจากโครงสร้างของมันจะเป็นแบบ 16 บิต (2 ไบต์) ทำให้แบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำชนิดนี้ มีค่าสูงสุดอยู่ที่ 1.6 กิกะไบต์ต่อวินาทีเท่านั้น (2 x 800 = 1600) ซึ่งก็เทียบเท่ากับ PC1600 ของหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM



RD-RAM

สัญญาณนาฬิกา DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X

หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้

การเรียกชื่อ RAM Rambus ซึ่งใช้เรียกชื่อรุ่นหน่วยความจำของตัวเองว่า PC600, PC700 และ ทำให้ DDR-SDRAM เปลี่ยนวิธีการเรียกชื่อหน่วยความจำไปเช่นกัน คือแทนที่จะเรียกตามความถี่ของหน่วยความจำว่าเป็น PC200 (PC100 DDR) หรือ PC266 (PC133 DDR) กลับเปลี่ยนเป็น PC1600 และ PC2100 ซึ่งชื่อนี้ก็มีที่มาจากอัตราการขนถ่ายข้อมูลสูงสุดที่หน่วยความจำรุ่นนั้นสามารถทำได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM แล้ว PC1600 ก็คือ PC100 MHz DDR และ PC2100 ก็คือ PC133 MHz DDR เพราะหน่วยความจำที่มีบัส 64 บิต หรือ 8 ไบต์ และมีอัตราการขนถ่ายข้อมูล 1600 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็จะต้องมีความถี่อยู่ที่ 200 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 200 = 1600) หรือถ้ามีแบนด์วิดธ์ที่ 2100 เมกะไบต์ต่อวินาที ก็ต้องมีความถี่อยู่ที่ 266 เมกะเฮิรตซ์ (8 x 266 = 2100)

อนาคตของ RAM บริษัทผู้ผลิตชิปเซตส่วนใหญ่เริ่มหันมาให้ความสนใจกับหน่วยความจำแบบ DDR กันมากขึ้น อย่างเช่น VIA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่ของโลกจากไต้หวัน ก็เริ่มผลิตชิปเซตอย่าง VIA Apollo KT266 และ VIA Apollo KT133a ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับซีพียูในตระกูลแอธลอน และดูรอน (Socket A) รวมถึงกำหนดให้ VIA Apolle Pro 266 ซึ่งเป็นชิปเซตสำหรับเซลเลอรอน และเพนเทียม (Slot1, Socket 370) หันมาสนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM แทนที่จะเป็น RDRAMแนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของทั้ง DDR II กับ RDRAM เวอร์ชันต่อไป เทคโนโลยี quard pump คือการอัดรอบเพิ่มเข้าไปเป็น 4 เท่า เหมือนกับในกรณีของ AGP ซึ่งนั่นจะทำให้ DDR II และ RDRAM เวอร์ชันต่อไป มีแบนด์-วิดธ์ที่สูงขึ้นกว่างปัจจุบันอีก 2 เท่า ในส่วนของ RDRAM นั้น การเพิ่มจำนวนสล็อตในหนึ่ง channel ก็น่าจะเป็นหนทางการพัฒนาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็จะเป็นการเพิ่มแบนด์วิดธ์ของหน่วยความจำขึ้นอีกเป็นเท่าตัวเช่นกัน และทั้งหมดที่ว่ามานั้น คงจะพอรับประกันได้ว่า การต่อสู้ระหว่าง DDR และ Rambus คงยังไม่จบลงง่าย ๆ และหน่วยความจำแบบ DDR ยังไม่ได้เป็นผู้ชนะอย่างเด็ดขาด

ข้อมูลจาก www.dcomputer.com