วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

10 กรณีฉุกเฉินที่ต้องแก้ก่อนเครื่องพัง ตอนที่ 2

กรณีที่ 6 จอเพี้ยน
เรื่องของ Refresh Rate เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่งที่อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นจอเพี้ยน จอดับหรืออาการ Out of range ได้บ่อยๆ เช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่ถ้าเป็นจอ CRT แล้วเกิดอาการผิดปกติของ Refresh Rate ตอนเปิดเครื่อง ก็อาจทำให้เกิดจอเพี้ยน เป็นคลื่นๆ มองภาพไม่รู้เรื่องได้เหมือนกัน
วิธีการแก้ไขเบื้องต้นที่ง่ายที่สุดก็คือ การสั่ง Restart เครื่องโดยอาจจะใช้คีย์บอร์ด Windows+U+R จากนั้นในขณะที่เครื่องกำลังบูตให้กดปุ่ม F8 เพื่อเข้าสู่ Boot Menu ที่จะมีออปชันให้คุณได้เลือกเข้า Safe Mode ซึ่งใน Safe Mode นี้จะมีการเรียกใช้ค่า Refresh Rate มาตรฐาน จึงทำให้ทำงานได้ตามปกติ
คราวนี้เมื่อเข้าสู่วินโดวส์ได้ คุณจะต้องไปปรับค่า Refresh Rate ให้เป็นค่าที่เหมาะสมที่จะสามารถใช้งานได้โดยคลิ้กขวาที่ Desktop จากนั้นเลือก Properties แล้วไปที่ Tab ชื่อ Setting คลิ้กปุ่ม Advance แล้วไปที่ Tab ชื่อ Monitor ซึ่งจะมีค่า Refresh Rate ให้ปรับ ซึ่งค่าที่เหมาะสมที่สุดจะเป็น adapter default หรือค่าต่ำสุดเท่าที่จะเลือกได้ และปรับความละเอียดของหน้าจอให้ต่ำๆ เข้าไว้ โดยเฉพาะจอขนาดเล็ก เมื่อปรับทุกอย่างเสร็จแล้วจึงสั่ง Restart เครื่องเพื่อดูผลในกรณีที่คุณแก้ไขจากอาการจอเพี้ยนข้างต้นมาแล้ว และต้องการปรับค่าความละเอียดหรือ Refresh Rate กันใหม่ เพื่อให้เหมาะสมตามความต้องการ ให้ลองปรับค่าตามที่คู่มือจอระบุให้เป็นค่าที่แนะนำให้ปรับเสียก่อน อย่างเช่น จอ LCD 17 นิ้ว จะมีค่าความละเอียดอยู่ที่ 1280x1024 ส่วน Refresh Rate จะอยู่ที่ 60-75 Hz แล้วแต่รุ่นของจอ เมื่อกด Apply และเห็นหน้าจอที่ปรับใหม่ได้ตามปกติแสดงว่าใช้งานได้ แต่ถ้าหน้าจอกลับมืดไป หรือว่าเป็นคลื่นๆ ไป จนไม่สามารถมองอะไรเห็น ไม่ต้องตกใจครับ ให้รอประมาณ 15-20 วินาที ทุกอย่างจะกลับมาเป็นค่าเดิมก่อนที่เราจะกด Apply
กรณีที่ 7 คอมพ์จอฟ้า
ปัญหาที่คนใช้คอมพ์เจอกันบ่อยๆ นั่นก็คือปัญหาจอฟ้า (Blue Screen) ซึ่งพอเจอก็มักจะเกิดอาการอึ้ง ทึ่ง เสียว แล้วก็ออกอาการงงๆ ทำอะไรไม่ถูก แล้วเราจะทำอย่างไร เมื่อประสบพบเจอกับปัญหาจอฟ้า ถ้าอย่างนั้นเราไปดูทางออกฉุกเฉินของปัญหานี้กันครับ
เมื่อเจอปัญหาจอฟ้า สิ่งแรกที่เราต้องทำก็คือทำใจเย็นๆ อย่าเพิ่งตกอกตกใจอะไรไป จากนั้นให้สังเกตอาการที่เกิดขึ้น โดยคุณอาจจะจดโค้ดไว้เพื่อแก้ปัญหา เช่น 0x0000007E แล้วลองเอาโค้ดที่ได้ไปค้นหาในเว็บ เช่น Google แล้วคุณจะพบว่าโค้ดที่เกิดขึ้นมาสาเหตุจากอะไร ในส่วนนี้ต้องบอกว่า คุณอาจจะต้องเก่งภาษาอังกฤษผสมกับเทคนิคเล็กน้อย เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษ
ปัญหาจอฟ้ามักจะเกิดได้จากสองสาเหตุ คือ โปรแกรม และไดรเวอร์ของอุปกรณ์ต่างๆ ปัญหาที่เกิดจากโปรแกรมจะสังเกตได้ว่าจะสามารถปิดเครื่องได้ แต่อาการจอฟ้าจะเกิดเมื่อเปิดโปรแกรมที่มีปัญหา ถ้าคุณรู้ว่าเกิดจากโปรแกรมอะไร เมื่อ Uninstall โปรแกรมออกปัญหาก็จะหมดไป
ถ้าปัญหาเกิดจากไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ คุณอาจจะเปิดเครื่องได้ แต่เข้าวินโดวส์ไม่ได้ เครื่องอาจจะมีการรีบูตตลอดเวลา ซึ่งปัญหาตรงนี้ บางครั้งทางแก้อาจจะต้องฟอร์แมตเครื่องแล้วลงระบบใหม่ทั้งหมด ก่อนที่คุณจะทำอะไรลงไป ลองบูตเครื่องเข้า Safe mode ดูก่อน ถ้าเข้าได้ ก็จัดการเอาข้อมูลที่จำเป็นมาเก็บไว้ก่อนแต่ถ้าหากไม่ไหวจริงๆ คงต้องถอดเอาฮาร์ดดิสก์ไปจั๊มป์กับเครื่องอื่น แล้วเอาข้อมูลที่สำคัญออกมา จากนั้นค่อยฟอร์แมตแล้วเอาข้อมูลที่สำคัญออกมา จากนั้นค่อยฟอร์แมตแล้วลงเครื่องใหม่ครับ ซึ่งการลงระบบใหม่ ผมแนะนำให้ค่อยๆ ลงไดรเวอร์ทีละตัว ระบบใหม่ ผมแนะนำให้ค่อยๆ ลงไดรเวอร์ทีละตัว ลงหนึ่งตัวรีบูตหนึ่งครั้ง เพื่อเช็กดูว่าปัญหาเกิดที่ไดรเวอร์ตัวไหน เมื่อพบไดรเวอร์ที่มีปัญหา ให้เข้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตอุปกรณ์นั้นๆ แล้วดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชันใหม่มาใช้แทนตัวที่มีปัญหา
กรณีที่ 8 กาแฟหกรดคีย์บอร์ด
เรามักได้รับคำเตือนอยู่เสมอๆ ว่าไม่ควรนำอาหารและเครื่องดื่มไปอยู่ใกล้คอมพิวเตอร์ ซึ่งสาเหตุของข้อห้ามนี้คงไม่เกี่ยวกับว่ากลัวคอมพิวเตอร์จะแย่งเรากินอย่างแน่นอน แต่เป็นเหตุผลง่ายๆ ว่ากลัวว่าเศษอาหารจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค กลิ่น รวมถึงอาจเป็นตัวดึงดูดให้พวกแมลงสาบ มด หรือหนูเข้าไปทำอันตรายให้กับคอมพิวเตอร์ รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้
ส่วนพวกน้ำและกาแฟนั้น หากอยู่ใกล้คุณ (หรือเพื่อน) ก็อาจจะเผลอไปปัดให้หก ซึ่งเราก็ทราบดีอยู่แล้วว่าพวกอุปกรณ์ไอทีไม่ค่อยจะถูกชะตากับน้ำ หรือชากาแฟทั้งหลาย แต่ถ้าเมื่อพยายามป้องกันแล้วก็ยังพลาดท่าเสียที เผลอไปทำกาแฟหรือน้ำหกลงบนคีย์บอร์ดเข้าจนได้ ก็ควรทราบวิธีแก้ไขในเบื้องต้นสิ่งแรกที่ควรทำคือรีบถอดสายคีย์บอร์ดออกจากตัวเคสก่อน จากนั้นให้รีบเทน้ำหรือกาแฟออกโดยด่วน แล้วค่อยหาผ้าแห้งมาเช็ดทำความสะอาด หากไม่แน่ใจก็อาจใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดให้แห้งมาทำความสะอาด หรือถ้าสามารถหาไดร์เป่าผมมาเป่าได้ก็คงจะดี แต่ห้ามใช้ปากเป่านะครับ เพราะอาจเป็นการเพิ่มน้ำ (จากน้ำลาย) โดยใช่เหตุ แต่ถ้าไม่มีอะไรมาเป่าจริงๆ ก็ต้องทิ้งไว้ให้แห้งสักวันหรือสองวัน แล้วจึงนำไปเสียบกับคอมพิวเตอร์ดูว่ายังใช้งานได้เหมือนเดิมหรือไม่? ถ้าไม่ได้ก็คงต้องเปลี่ยนคีย์บอร์ดอันใหม่แล้วละครับ คิดซะว่าได้ของใหม่ จะได้ไม่เครียดไงครับ
กรณีที่ 9 เสียงส่ออันตราย
คิดว่าหลายๆ คนคงเคยได้ยินเสียงร้องจากคอมพิวเตอร์หลังจากที่เปิดคอมพิวเตอร์ขึ้น จากนั้นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นเมื่อพบว่า เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานไม่ได้เลย ซึ่งสัญญาณที่ดังขึ้นมานั้นจะแตกต่างกัน เพราะบางทีก็ดังครั้งเดียว หรือบางทีก็ดัง 2 ครั้ง ซึ่งในตอนนี้จะพูดถึงสัญญาณที่หลายคนมักจะเจอะเจอกันบ่อยๆ และสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ก็อย่าลืมว่าไบออสนั้นก็มีหลายยี่ห้อ จึงมีเสียงและความหมายที่แตกต่างกัน ก็อาจจะต้องพิจารณาข้อมูลเหล่านี้ประกอบด้วย
เทคนิควิเคราะห์อาการเสียจากไบออส สำหรับเมนบอร์ดที่ใช้ไบออสยี่ห้อ นี้สัญญาณ เสียง Beep Code จะฟังค่อนข้างง่ายไม่ซับซ้อนเหมือนไบออสยี่ห้ออื่น โดยเสียงที่ได้ยินจะเป็นเสียง "ปี๊บ" สั้นและยาวสลับกันซึ่งเราจะสังเกตอาการเสียได้จากจำนวนครั้งในการส่งเสียงร้องเตือน โดยมีจังหวะดังนี้
  • เสียงดัง 1 ครั้ง = แสดงว่าขั้นตอนการบูตเครื่องหรือขั้นตอน Post เป็นปกติ
  • เสียงดัง 2 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
  • เสียงดัง 3 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแรม เช่น เสียบไม่แน่นหรือแรมเสียทำให้บูตเครื่องไม่ผ่าน ควรตรวจสอบแรม
  • เสียงดังต่อเนื่อง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของแหล่งจ่ายไฟ เช่น เพาเวอร์ซัพพลาย หรือเมนบอร์ดอาจมีปัญหา ให้ตรวจสอบ เพาเวอร์ซัพพลาย และเมนบอร์ด
  • เสียงดังถี่ ๆ = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนเมนบอร์ดให้ตรวจสอบสายสัญญาณต่าง ๆ และตัวเมนบอร์ด
  • เสียงดัง 6 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของคีย์บอร์ด ให้ตรวจสอบคีย์บอร์ด
  • เสียงดัง 7 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของซีพียู อาจต้องเปลี่ยนซีพียูใหม่
  • เสียงดัง 8 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
  • เสียงดังยาว 1 สั้น 2 = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการ์ดแสดงผล ( VGA ) ตรวจสอบการ์ดแสดงผลว่าเสียบแน่นดีหรือไม่ หากยังไม่ได้ผลอาจต้องเปลี่ยนการ์ดแสดงผลใหม่
  • เสียงดัง 9 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของไบออส อาจต้องเปลี่ยนไบออสใหม่
  • เสียงดัง 10 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของการเขียน CMOS อาจต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดใหม่
  • เสียงดัง 11 ครั้ง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนในส่วนของหน่วยความจำแคช ควรตรวจสอบแคชภายนอกบนเมนบอร์ด
  • ไม่มีเสียง = แสดงว่ามีปัญหาในส่วนของ เพาเวอร์ซัพพลาย, เมนบอร์ด หรือซีพียู รวมถึงสายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ

**หมายเหตุ เสียง "ปิ๊ป" ของเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้ออาจแตกต่างจากได้ที่กล่าวมา

กรณีที่ 10 CDROM ติดไม่ทำงาน
มีใครเคยเจอปัญหาบ้างมั๊ยครับ? เวลาใส่แผ่นซีดีเข้าไปที่ไดรฟ์ซีดีรอม แล้วเครื่องอ่านอยู่นั่นแหละ อ่านไม่หยุด จนแฮงก์ หรือไม่สามารถนำแผ่นซีดีรอมออกได้
ชื่อว่าใครก็ตามที่ประสบกับปัญหานี้คงรู้สึกเซ็งแทบนั่งกุมขมับกันเลยทีเดียว เอาละครับ ผมมีแนวทางแก้ไขมาฝาก ดังนี้
สาเหตุ : ตัวการที่ทำให้ซีดีรอมติดค้าง ไม่สามารถเปิดได้นั้น จะอยู่ที่กลไกในการดีดถาดออกมา หรือความสกปรกของหัวอ่านซีดี และแผ่นเป็นรอยเป็นต้น
วิธีแก้ไข : การแก้ไขเบื้องต้นนั้นไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ออกแรงสักนิดหนึ่ง และต้องมีเครื่องมือ นั่นคือ คลิป หนีบกระดาษนั่นเอง วิธีการมีดังนี้
  • ให้นำคลิปหนีบกระดาษมาดัดให้มีลักษณะเป็นตัวแอล
  • จากนั้นนำคลิปหนีบกระดาษที่ดัดเรียบร้อยแล้วสอดเข้าไปในรูเล็กๆ ที่อยู่ทางด้านหน้าของซีดีรอม
  • ต่อไปก็ค่อยๆ เขี่ย จะรู้สึกได้ว่าปลายคลิปนั้นไปติดกับเฟืองสำหรับดีดถาดออกมา
  • ถ้าหากเขี่ยแล้ว ถาดไม่เลื่อนออกมา ให้ใช้มือค่อยช่วยงัดออกมา แต่ต้องระวังด้วยนะ ไม่งั้นจะเสียแบบถาวร

เอาละครับ ครบถ้วนทั้ง 10 กรณีกันไปเรียบร้อย ความจริงแล้วมันคงมีเหตุฉุกเฉินที่นอกเหนือจากนี้ไปบ้างแหละครับ แต่ที่นำมาเสนอในบทความนี้คือสาเหตุส่วนใหญ่ที่หลายคนมันจะพบอยู่บ่อยๆ ก็เอาเป็นว่ารู้วิธีแก้ไขเบื้องต้นกันก่อน ถ้าเหลือบ้ากว่าแรงจริงๆ เราก็คงจะต้องพึ่งผู้ชำนาญกว่า

ที่มา : http://www.arip.co.th/

1 ความคิดเห็น:

"-"opor"-" กล่าวว่า...

มีสาระมากๆ....เครียดไปปะ